welcome

ยินดีต้อนรับ เว็บสื่อการเรียนการสอนคุณครูวิวัฒน์ หลักทองคำ ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 1

บทที่ 1 ความหมาย ขอบเขต และความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ความหมาย บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์คืออะไร
              ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง
              คอมพิวเตอร์จึงสามารถมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างอย่างที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็น ตัวอย่างเช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM ก็ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง

 


 
 เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
             1. สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-code) อ่านเวลาเข้า-ออก ของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า
             2. สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
             3. สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
             4. สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
             5. สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
             6. การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย
             7. การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคาร และงานของภาครัฐต่างๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ
             8. การควบคุมระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบจราจร, ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน
             9. การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำ เพื่อการเกษตร
           10. การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบการฝึกขับเครื่องบิน
           11. การใช้คอมพิวเตอร์นันทนาการ เช่นการเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง
           12. การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยอี่นๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

              



ลักษณะและประเภทของงานคอมพิวเตอร์
              1. งานที่ต้องจัดเก็บข้อมูลเป็นจำนวนมาก เช่น เก็บข้อมูลงานทะเบียนราษฏฐ์ เป็นต้น
             2. งานที่ต้องอาศัยการประมวลผลที่รวดเร็ว มีความแม่นยำและถูกต้องที่สุด เช่นงานด้านวิทยาศาสตร์
             3. งานที่ไม่ต้องการหยุดพัก คือทำงานได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยังต้องมีไฟฟ้าอยู่
             4. งานที่คนไม่สามารถเข้าไปทำได้ เช่นในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย เช่น ที่มีก๊าซพิษ กัมมันตภาพรังสี หรือในงานที่มีความเสี่ยงสูงในโรงงานอุตสาหกรรม
            ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501)  
               คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีความร้อนสูงจึงมักเกิดข้อผิดพลาดง่าย คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ UNIVAC I , IBM 600
 
เครื่องคอมพิวเตอร์ Mark1       เครื่องคอมพิวเตอร์ ENIAC
 คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502-2507) 
             คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
 

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508-2513)   
               คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit)  เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน (Silicon) เรียกว่า "ชิป" 
 
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514-2523)   
                เทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั่นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโปรเชสเซอร์"

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน) 
                 คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


บทที่ 2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
 
 1. ส่วนประกอบภายนอกและการใช้งาน
จอภาพ (Monitor)   เคส (Case)          คีย์บอร์ด (Keyboard)  
เมาส์ (Mouse)        ลำโพง(Speaker)   เครื่องสำรองไฟ (UPS)
 2. ส่วนประกอบภายในและการทำงาน
หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit ; CPU)  
หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory)  
เมนบอร์ด   (Mainboard)            ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk )
ซีดีรอมไดร์ฟ  (CD-ROM Drive)     ฟล๊อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive )
ช่องขยาย (Slot)                        แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
3. อุปกรณ์ต่อพ่วง
เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ  (Printer) เครื่องสแกนภาพ  (Scanner) โมเด็ม (Modem)

 
 
 

 
บทที่ 3 การพัฒนาคอมพิวเตอร์ในองค์กร

ภายในองค์กรมีสิ่งที่จะต้องพิจารณา และจัดเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการใช้ไอทีหลายอย่าง แต่ละอย่างมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน การพัฒนาต้องพัฒนาไปทั้ง "ห้าองค์ประกอบ" นี้ ซึ่งได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล ข่าวสาร คน และระเบียบวิธีปฏิบัติ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
               ฮาร์ดแวร์ เป็นเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกในการทำงาน การวางรากฐานการใช้เครื่องมือสมัยใหม่ ใช้ระบบการประมวลผลที่ทำให้ทำงานได้รวดเร็วแม่นยำ มีระบบการเชื่อมโยงสื่อสาร เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางไปถึง และประสานการทำงานเป็นระบบได้ ฮาร์ดแวร์จึงรวมไปถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ
 
2. ซอฟต์แวร์  (Software)
 ความสำคัญของซอฟต์แวร์
               ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้
              โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้โปรแกรมประเภทต่าง ๆ
3. ข้อมูลข่าวสาร (Content)
               คือเนื้อหาสาระที่สำคัญ การดำเนินการขององค์กรเกี่ยวข้องกับการผลิต การประมวลผล การสรุปผล การทำรายงาน การดำเนินการสื่อสารระหว่างกัน การกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นกับเนื้อหาของข้อมูลข่าวสาร ดังนั้น ในองค์กรต้องให้ความสำคัญในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ทำอย่างไรจึงจะให้ข้อมูลข่าวสารเข้าไปโลดแล่นอยู่ในระบบและใช้งานได้อย่างเต็มที่
 4. บุคลากร (Peopleware)
 ความสำคัญของบุคลากร
              บุคคลกร คือบุคคลที่สำคัญ และเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และหากต้องให้งานมีประสิทธิผลมากที่สุด  จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากร มีการฝึกอบรมหรือดำเนินการให้บุคลากรหันมาให้ความสำคัญ และเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร ความสามารถของบุคลากรจึงเป็นฐานสำคัญในการใช้ไอทีเพื่อประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวม
 ประเภทของบุคลากรในงานคอมพิวเตอร์
ระดับผู้บริหาร(Administration)  ได้แก่ Electronic Data Processing manager
 :EDP ระดับวิชาการ (Technical)
  ได้แก่  System Analyst and Designer, Programmer ระดับปฏิบัติการ (Operation)  ได้แก่ Computer Operator, Keypunch Operator, Data Entry
5. ระเบียบวิธีการปฏิบัติ (Procedure)
              บางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีสอดคล้องกับวิถีการทำงานแนวใหม่ กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบ หรืออาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานบางอย่างขององค์กร บางองค์กรจึงมีการปรับเปลี่ยนขั้นรุนแรงถึงขั้นรือปรับระบบ (Re-en-gineering) เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการทำงานแนวใหม่ที่มีไอทีเข้ามาสนับสนุน
               พัฒนาการทั้ง "ห้าองค์ประกอบ" นี้ต้องไปด้วยกัน จะเลือกองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ หากองค์ประกอบหนึ่งองค์ประกอบใดไม่ได้รับการพัฒนา ย่อมทำให้ระบบโดยรวมขององค์กรมีปัญหา เช่น มีการซื้อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลที่ทันสมัย มีซอฟต์แวร์ที่ทำงานได้เป็นเลิศ แต่ ขาดการดำเนินการกับข้อมูลข่าวสารที่ดี หรือเกือบจะไม่มีข้อมูลข่าวสารใด การลงทุนนั้นก็ดูจะสูญเปล่า
บทที่ 4 ปฏิบัติการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์
1. การเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
การต่อระบบไฟและสายเมาส์-คีย์บอร์ด  
การต่อสายสัญญาณ
วีจีเอ พอร์ต (VGA Port)  
พอร์ตอนุกรม (Serial Port)  
พอร์ตขนาน (Pararell Port)  
พอร์ตยูเอสบี (USB Port)  
พอร์ตมัลติมีเดีย (Multimedia Port)
2. การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง
การต่อเครื่องพิมพ์  
การติดตั้งใช้งานโมเด็ม
โมเด็มแบบภายใน(Internal)  
โมเด็มแบบภายนอก(External)
 


 

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติการศึกษา

ประวัติด้านการศึกษา
ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองสังข์  ต.พิงพวย  อ.ศรีรัตนะ  จ.ศรีสะเกษ  สำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา  2538
ระดับมัธยมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนศรีแก้วพิทยา 
ต.ศรีแก้ว  อ.ศรีรัตนะ  จ.ศรีสะเกษ  สำเร็จการศึกษาเมื่อ
ปีการศึกษา  2541
 
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนศรีแก้วพิทยา 
ต.ศรีแก้ว  อ.ศรีรัตนะ  จ.ศรีสะเกษ 
สำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา  2544 เกรดเฉลี่ย 2.11
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ  โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์  สำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2546  เกรดเฉลี่ย 2.27
ระดับปริญญาตรี 2 ปีหลัง
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  คณะครุศาสตร์บัณฑิต  โปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษาสำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2548 
เกรดเฉลี่ย 2.79
ระดับปริญญาโท
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  คณะครุศาสตรมหาบัณฑิต 
การบริหารการศึกษา    สำเร็จการศึกษาเมื่อปีการศึกษา 2555 
เกรดเฉลี่ย 3.6

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์
อุทิศตนพัฒนาเด็กไทย ให้มีความรู้ ควบคู่คุณธรรมจริยธรรม

ประวัติ

ชื่อ นายวิวัฒน์ หลักทองคำ
ตำแหน่ง ครู คศ.1
โรงเรียนบ้านจำนรรจ์ ต.กระแชง อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ
หน้าที่รับผิดชอบ หัวหน้าฝ่ายงานบริหารทั่วไป


วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556