welcome
วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559
รู้จักกับ E-BOOK
E-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่ง ที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
1.โปรแกรมชุด Flip Album
2.โปรแกรม DeskTop Author
3.โปรแกรม Flash Album Deluxe
ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้นแล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ประกอบด้วย
1.โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ Flip Viewer
2.โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
3.โปรกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player
องค์ประกอบของ e-Book
1.เนื้อหาที่อยู่ในรูปของข้อความ
- สื่อความหมายให้ชัดเจน
- การจัดวาง รูปแบบ(Font)เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์(Symbol)สี การจัดวางดูแล้วมีความเหมาะสม
- ความยาวเนื้อหาให้เหมาะสม
- การสร้างภาพเคลื่อนไหวให้ตัวหนังสือ จะเพิ่มความสนใจ แล้วแต่ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
- การใช้สัญลักษณ์ควรให้สัมพันธ์กับเนื้อหา
2.ภาพนิ่ง
ภาพได้จากการสร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือภาพที่ได้จากการสแกนภาพลักษณะเป็นจุดภาพ(pixel)
แบบไฟล์ได้แก่ไฟล์นามสกุล GIF, JPG, PNG, BMP, WMF, ICO, PCX, TIF, PCD,PSD
3.ภาพเคลื่อนไหว (Animation)รูปแบบไฟล์ได้แก่ไฟล์นามสกุล GIF, SWF
4.เสียง(Sound)รูปแบบไฟล์ได้แก่ MID, WAV, MP3
5.ภาพวีดิทัศน์(Video) ถูกเก็บในรูปแบบดิจิทัลไฟล์มักจะถูกเก็บไว้ในตระกูล AVI, MOV หรือ MPEG
6. การเชื่อมโยงข้อมูล(Links)การที่ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลได้ตามต้องการโดยการใช้ตัวอักษร หรือ ปุ่ม หรือภาพสำหรับเชื่อมโยง
โครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
• หน้าปก (Front Cover) หน้าปก หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
• คำนำ(Introduction) คำนำ หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น
• สารบัญ (Contents) สารบัญ หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้
• สาระของหนังสือแต่ละหน้า (Pages Contents) สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่ม ประกอบด้วย
- หน้าหนังสือ (Page Number)
- ข้อความ (Texts)
- ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
- เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
- ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg, .wav, .avi?
- จุดเชื่อมโยง (Links)
• อ้างอิง (Reference) อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์
• ดัชนี(Index) ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหาพร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
• ปกหลัง (Back Cover) ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น