welcome

ยินดีต้อนรับ เว็บสื่อการเรียนการสอนคุณครูวิวัฒน์ หลักทองคำ ขอบคุณที่มาเยี่ยมชม

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์ประวัติวอลเลย์บอล

แบบทดสอบความรู้ออนไลน์ประวัติวอลเลย์บอล แบบทดสอบความรู้ออนไลน์ประวัติวอลเลย์บอล
1. ผู้คิดค้นกีฬาวอลเลย์บอลคือใคร

2. กีฬาวอลเลย์บอลกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศใด

3. กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นในครั้งแรกตั้งชื่อว่าอะไร

4. การเล่นวอลเลย์บอลครั้งแรกได้รวบรวมการเล่นของเกมกีฬาอะไรเข้าด้วยกัน

5. จุดมุ่งหมายที่สำคัญ ที่มอร์แกนวางไว้คืออะไร

6. ลูกวอลเลย์บอลแต่เดิมที่มอร์แกนคิดขึ้นใช้ลูกอะไร

7. ผู้ที่ได้รับชื่อว่า เป็นบิดาแห่งวอลเลย์บอลคือใคร

8. ประเทศแรกที่เล่นกีฬาวอลเลย์บอลในทวีปเอเชียคือประเทศใด

9. กีฬาวอลเลย์บอลเข้ามาในประเทศไทยตอนเริ่มแรกนิยมเล่นข้างละกี่คน

10. สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยตั้งขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีพ.ศใด

ผลคะแนน =
เฉลยคำตอบ:

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ฮอร์โมนสำคัญในร่างกาย


กีฬาวอลเลย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอล
.๒.๑  ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลนอกประเทศ
          กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.. ๑๘๙๕ โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G. Morgan)
ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men’s Christian Association)
เมืองฮอลโยค (Holyoke) มลรัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น  เนื่องจากในฤดูหนาวหิมะตกลงมา ผู้คนทั่วไปไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ เขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมที่พักผ่อนหย่อนใจ คลายความตึงเครียด เขาได้นำลักษณะและวิธีการเล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสขึงระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ ๖ ฟุต ๖ นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลใหญ่ หนักและแข็งเกินไปทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ ในที่สุดเขาจึงให้บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนัง และบุด้วยยางมีเส้นรอบวง ๒๕๒๗ นิ้ว มีน้ำหนัก ๘๑๒ ออนซ์  หลังจากทดลองเล่นแล้ว  เขาจึงตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า มินโตเนต” (Mintonette)
          ปี ค..๑๘๙๖ มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด- ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead)  ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น วอลเลย์บอล” (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอลตกพื้น
          ปี ค.ศ ๑๙๒๘ ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์   ( Dr.George J.Fisher )   ได้ปรับปรุง  และเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทอย่างมากในการเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

 .๒.๒  ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศ
          กีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าชาวไทยบางกลุ่มได้เริ่มเล่น และแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมาตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา
          ปี พ..๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิง เข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก โดยใช้กติกาการเล่นระบบ ๙ คน  และตั้งแต่นั้น กีฬาวอลเลย์บอลได้รับเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก โดยใช้กติกาการเล่นระบบ ๙ คน และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นโดยตลอด และปัจจุบันใช้กติกาการเล่นระบบ ๖ คน
          วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ ได้มีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น (Amature Volleyball Association of Thailand)
          ปัจจุบันกีฬาวอลเลย์บอลได้นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และตามหน่วยงานต่าง    ทั้งภาครัฐ และเอกชน

.๒.๓  ประโยชน์ของการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
          วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้
          ๑) วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม  ช่วยสร้างให้เกิดความสามัคคีระหว่างหมู่คณะ และรักใคร่ปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
          ๒)  วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจจะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่มหรือกลางแจ้ง
          ๓)  วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง  เพราะผู้เล่นจะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ มีวินัย  มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังนิสัยอันมีผลที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย
          ๔)  วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอลย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทน อดกลั้น รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น
          ๕)  วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกายให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง  เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ระบบต่างๆ  ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถของร่างกายให้มีความต้านทานได้ดีด้วย
          ๖)  กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้ ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็นสื่อกลางก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน

.๒.๔  มารยาทของผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี
            ๑)  แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นวอลเลย์บอล ในการแข่งขันนั้นผู้เล่นต้องแต่งกายตามกติกา แต่ในการเล่นทั่วไปเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อออกกำลังกายควรจะแต่งกายให้เหมาะสม บางคนสวมรองเท้าแตะหรือแต่งชุดไปเที่ยวลงเล่น เป็นต้น  ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการเล่นได้
             ๒)  ไม่แสดงกิริยาเสียดสีล้อเลียน หรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพต่อผู้เล่นฝ่ายเดียวกันหรือฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ชม
             ๓) มีความสุภาพเรียบร้อย แสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อนและหลังการแข่งขันเสร็จสิ้นลงควรจับมือผู้เล่นของทีมตรงข้ามไม่ว่าทีมจะแพ้หรือชนะก็ตาม
              ๔)  ไม่โต้เถียงหรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสิน และปฏิบัติตามระเบียบกติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด
              ๕)  มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ถึงแม้ว่าผู้เล่นฝ่ายเดียวกันผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ

 .๒.๕  มารยาทของผู้ชมกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี
               ๑)  แสดงความยินดีด้วยการปรบมือให้แก่ผู้เล่นที่เล่นดี และไม่กล่าวถ้อยคำหรือ  
แสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด

               ๒)  ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง
               ๓)  ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น การตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน เป็นต้น
               ๔)  ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก